UFABETWIN

“(ความเกลียดชัง) มันเริ่มมาจากไหนน่ะหรือ ? แค่การอยู่ในยอร์กเชียร์ ? หรือน้ำรสชาติต่างกัน ? ผมไม่รู้เลย หรือจะเป็นสงครามดอกกุหลาบ ? เราต้องย้อนไปไกลขนาดนั้นเลยหรือ ? ผมยังไม่เคยเจอใครที่มาจากยุคนั้นเลยนะ” โทนี โอนีล นักข่าวและนักเขียนชาวอังกฤษกล่าว

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ ลีดส์ ยูไนเต็ด ถือเป็นคู่แข่งที่ใส่กันอย่างไฟแลบทุกครั้งที่ลงสนาม ทั้งที่ความเป็นจริงพวกเขาไม่ได้อยู่ในเมืองเดียวกันด้วยซ้ำ แล้วอะไรที่ทำให้พวกเขาเกลียดกันขนาดนี้

หนึ่งในเหตุผลที่ถูกพูดถึงกันเป็นประจำคือ “สงครามดอกกุหลาบ” สงครามชิงบัลลังก์ ระหว่างผู้นำของสองแคว้นคือ แลงคาสเตอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของแมนเชสเตอร์ และ ยอร์ก ซึ่งที่เป็นที่ตั้งของเมืองลีดส์ ในช่วงศตวรรษที่ 15

อย่างไรก็ดีความเป็นจริงมันเป็นเช่นนั้นหรือ ?

สงครามดอกกุหลาบ

มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่เสมอ หาก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ ลีดส์ ยูไนเต็ด ต้องมาประลองแข้งกัน เนื่องจากมันคือสงครามที่ดุเดือดที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างสองแคว้นทางตอนเหนือ

จุดเริ่มต้นของสงครามอาจจะต้องย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 15 เมื่อตระกูลแลงคาสเตอร์ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นกุหลาบแดง และตระกูลยอร์กที่มีกุหลาบขาวเป็นสัญลักษณ์ ต่างอ้างสิทธิ์ในการครองบัลลังก์ของอังกฤษ เนื่องจากทั้งสองตระกูลต่างสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ที่ปกครองอังกฤษในช่วงปี 1327-1377

ในตอนแรกเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เดอะแบล็ก พรินซ์ พระราชโอรสองค์โต ถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แต่เขาก็สิ้นพระชนม์ไปก่อน ทำให้ พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระโอรสของท่านต้องเข้ามารับช่วงต่อ ขึ้นครองราชด้วยพระชนมายุเพียง 10 พรรษาในปี 1377

ด้วยความที่พระชนมายุยังน้อย ทำให้เจ้าชายจอห์นแห่งกอนต์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ต้องมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน แต่ก็สิ้นพระชนม์ไปในอีก 22 ปีให้หลัง ทำให้สิทธิ์ในการดูแลจึงตกมาถึงเจ้าชายเฮนรี ที่ 4 โอรสของท่าน

แต่เจ้าชายเฮนรีที่ 4 ไม่ได้เป็นเพียงผู้สำเร็จราชการ แต่ได้สำเร็จโทษ พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แล้วขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ซึ่งเป็นปฐมบทของราชวงศ์แลงคาสเตอร์ในปี 1399

หลังจากนั้นยุคสมัยของราชวงศ์แลงคาสเตอร์ก็ล่วงเลยมามาจนถึงยุคของพระเจ้าเฮนรี ที่ 6 ซึ่งขึ้นปกครองอังกฤษตั้งแต่ปี 1422 แต่พระองค์มีสติที่ไม่ปกติ ไร้ความสามารถในการบริหารราชการ แต่เขาก็มี ริชาร์ด แห่งยอร์ก เป็นคนช่วยดูแลราชบังลังก์แทน

โดยพระเจ้าริชาร์ด แห่งยอร์ก ถือเป็นบุคคลที่เหมาะสมในการครองบัลลังก์อังกฤษคนต่อไป เนื่องจากเขาเป็นผู้สืบเชื้อสายของเจ้าชายเอ็ดมุนด์ พระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 และยังมีเชื้อสายของเจ้าชายลิโอเนล ดยุกแห่งคลาแรนซ์ โอรสคนที่สองของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 อีกด้วย (ซึ่งมาจากการแต่งงานกันเองในราชวงศ์)

อย่างไรก็ดีสิ่งนี้ทำให้ฝั่งแลงคาสเตอร์ไม่พอใจ และทำให้มาร์กาเร็ตแห่งแอนจู พระมเหสีของพระเจ้าเฮนรี ที่ 6 พยายามต่อต้านในเรื่องนี้ ทำให้ท้ายที่สุดกุหลาบทั้งสองสีเปิดฉากทำสงครามกันในปี 1455 ใน “สงครามดอกกุหลาบ” จนสุดท้ายกุหลาบขาวก็คว้าชัย ก้าวขึ้นมาครองบัลลังก์ตั้งเป็นราชวงศ์ยอร์ก ในปี 1461

แต่นั่นเป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เมื่อหลังจากนั้นก็เกิดการแย่งชิงบัลลังก์ไปมาระหว่างสองราชวงศ์ ที่ทำให้สงครามดอกกุหลาบ กินระยะเวลาราว 30 ปี จนกระทั่ง เฮนรี ทิวดอร์ ที่อ้างว่าตัวเองสืบเชื้อสายมาจาก จอห์นแห่งกอนต์ จากฝั่งแลงคาสเตอร์ จะมาชิงบัลลังก์จากพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งราชวงศ์ยอร์กได้สำเร็จ

เขาได้สถาปนาตัวเองเป็น พระเจ้าเฮนรีที่ 7 และราชวงศ์ทิวดอร์ขึ้นในปี 1485 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตลอด กษัตริย์องค์ใหม่จึงตัดสินใจใช้กุหลาบขาวในกุหลาบแดงเป็นตราสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์ทิวดอร์ โดยมีนัยยะว่าทั้งสองฝ่ายได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ “สงครามดอกกุหลาบ” ถูกเชื่อมโยงกับการแข่งขันระหว่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ ลีดส์ ยูไนเต็ด เนื่องจากทั้งสองทีมมาจากแลงคาสเตอร์และยอร์ก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของสองราชวงศ์ แถมยังมีสีประจำสโมสรเป็นสีแดงและสีขาว

อย่างไรก็ดีนี่คือต้นเหตุของความเกลียดชังระหว่างคนในเมือง ลีดส์ กับ แมนเชสเตอร์ อย่างนั้นหรือ ?

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

 

UFABETWIN

 

แม้ว่าการรบกันระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งสองฝ่าย แต่มันกลับไม่ได้ทำให้คนทั้งสองเมืองเกลียดกัน เนื่องจากมันเป็นการแย่งชิงอำนาจมากกว่าดินแดน แถมยังเป็นการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นปกครองที่มีกำลังทหารเป็นของตัวเอง

นอกจากนี้คำว่าก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกใช้ในตอนที่สงครามเกิดขึ้น แต่เพิ่งจะมาแพร่หลายจากบทละครเรื่องเฮนรี ที่ 6 ของ วิลเลียม เช็กสเปียร์ ในปี 1613 ขณะที่การใช้กุหลาบแดงแทนแลงคาสเตอร์และกุหลาบขาวแทนยอร์ก ก็เพิ่งจะเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากหนังสือประวัติศาสตร์อังกฤษของ เดวิด ฮูม ในช่วงศตวรรษที่ 18 นี่เอง

อย่างไรก็ดีศตวรรษต่อมาดูเหมือนจะเป็นจุดเริ่มต้นของความบาดหมางที่ชัดเจนระหว่างสองเมืองนี้ ที่มีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกที่เรียกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” ซึ่งส่งผลต่อปากท้องของผู้คนในสองพื้นที่เป็นอย่างมาก

ความขัดแย้งนี้อาจจะต้องตั้งต้นในช่วงศตวรรษที่ 13-15 เมื่ออุตสาหกรรมผ้าขนสัตว์คือธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็นเหมือนกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของประเทศ จนถูกขนานนามว่า “อัญมณีในอาณาจักร”

จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 16 ลีดส์ เมืองทางตอนเหนือของอังกฤษก็สามารถถีบตัวขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าของอุตสาหกรรมผ้าขนสัตว์ จนสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ชาวเมือง

ความรุ่งเรืองของพวกเขาล่วงเลยมาจนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ยิ่งทำให้ธุรกิจนี้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว หลังจากสามารถส่งผ้าขนสัตว์ไปทั่วประเทศและทั่วโลกจากการขุดคลองที่เชื่อมต่อเมืองลีดส์กับเมืองลิเวอร์พูล เมืองท่าของอังกฤษในปี 1816 และทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับเมืองต่าง ๆ ในปี 1834

ทว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ไม่ได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมผ้าขนสัตว์ของชาวเมืองลีดส์เพียงฝ่ายเดียว เมื่อมันยังทำให้เครื่องไม้เครื่องมือพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำเนิดของเครื่องปั่นด้ายของ แซมมวล ครอมป์ตัน ในปี 1779 ที่ทำให้อุตสาหกรรมผ้าฝ้ายเติบโตอย่างก้าวกระโดด

และฐานที่มั่นหลักของอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายก็คือเมืองแมนเชสเตอร์ เมื่อภายในปี 1800 พวกเขามีโรงงานปั่นฝ้ายมากถึง 42 แห่ง และกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตผ้าฝ้ายของอังกฤษในชื่อ หรือมหานครแห่งฝ้าย

 

แน่นอนว่าเมื่อต้นทุนในการผลิตผ้าฝ้ายลดลง ก็ทำให้มันเข้ามาตีตลาดเครื่องนุ่งห่มมากขึ้น และทำให้ความมั่งคั่งที่ชาวเมืองลีดส์เคยได้รับ ย้ายไปกระจุกตัวอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ จนทำให้ผู้คนทั้งสองเมืองมีความรู้สึกบาดหมางต่อกัน

“ประวัติศาสตร์ที่ทำให้พวกเขาเป็นศัตรูกันจริง ๆ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ความสำเร็จของอุตสาหกรรมผ้าฝ้าย ทำลายอุตสาหกรรมดั้งเดิมอย่างขนสัตว์จนพินาศ เพราะว่ามันมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า” แอนโธนี คลาเวน ผู้เขียนหนังสือ

“ช่างทอผ้าในยอร์กเชียร์ถูกตัดราคา และมันคือจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่งครั้งใหม่ของเมืองแมนเชสเตอร์ ในฐานะราชาผ้าฝ้าย”

 

หลังจากนั้นผู้คนจากเมืองลีดส์และแมนเชสเตอร์ก็ตั้งตนเป็นคู่อริและผลัดกันโจมตีไปมา ไม่ว่าจะเป็นการที่ลีดส์กล่าวหาว่าเมืองแมนเชสเตอร์ลอกเลียนแบบศาลากลางของพวกเขา หรือการที่ฝั่งแมนเชสเตอร์บอกว่าชาวเมืองลีดส์แค่อิจฉาพวกเขา

“ชัดเจนว่ามันมีความอิจฉาทางวัฒนธรรมอยู่ที่นั่น ชาวลีดส์อ้างว่านักเขียน ศิลปิน นักดนตรี ของพวกเขาถูกละเลย อย่าง คีธ วอเตอร์เฮาส์, เดวิด สตอรีย์” คลาเวน กล่าวต่อ

“ในขณะที่ชาวแมนเชสเตอร์ผู้ชอบโอ้อวดนั้น วงอย่าง โอเอซิส หรือละคร โคโรเนชั่น สตรีท ของพวกเขาเป็นที่รักจากสื่อมาโดยตลอด”

ก่อนที่ความขัดแย้งนี้จะลามไปถึงสนามฟุตบอล

ศัตรูบนสนามหญ้า

อันที่จริงความขัดแย้งระหว่างผู้คนทั้งสองเมืองบนสังเวียนลูกหนังก็ไม่ได้เด่นชัดมากนักในช่วงแรก แถมยังมีส่วนเกี่ยวพันในทางอ้อม เนื่องจาก นิวตัน ฮีธ บรรพบุรุษของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มาจากการเป็นพนักงานรถไฟสายแลงคาสเตอร์-ยอร์กเชียร์

จนกระทั่งในช่วงทศวรรษที่ 1960s-1970s ความบาดหมางก็มีให้เห็นบนสนามหญ้า เมื่อ ลีดส์ ยูไนเต็ด ของ ดอน เรวี ขึ้นมาท้าชิงความยิ่งใหญ่ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนสามารถคว้าแชมป์ลีกได้ 2 สมัย, เอฟเอคัพ 1 สมัย, ลีกคัพ 1 สมัย และรองแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ สวนทางกับปีศาจแดงที่อยู่ในยุคขาลงหลัง แมตต์ บัสบี้ วางมือ

อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้พวกเขาไม่ชอบขี้หน้ากันคือสไตล์การเล่นของทัพยูงทองในยุคดังกล่าว ที่เล่นแรงและชอบตุกติกจนถูกเรียกว่า “ลีดส์สกปรก” แม้จะประสบความสำเร็จก็ตาม

“มันไม่ใช่แค่พวกเขามาแย่งชิงการเป็นทีมที่ดีที่สุดไปจากเราเท่านั้น” ดาเนียล แฮร์ริส ซึ่งเป็นแฟนปีศาจแดงและผู้เขียนหนังสือ

 

UFABETWIN

 

“แต่หลายด้านเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับยูไนเต็ดของบัสบี ที่ถึงแม้จะพ่ายแพ้แต่ก็เข้าใจถึงความสำคัญของการมีน้ำใจนักกีฬา และการเล่นเพื่อความสนุก”

“เหมือนทีมอาร์เซน่อล ลีดส์เป็นทีมที่ทุกคนเกลียดได้หมดจากการเล่นที่ไม่สนุกของพวกเขา แม้ว่าบางครั้งพวกเขาจะเล่นได้ดีก็ตาม”

ขณะที่ โทนี โอนีล นักข่าวและนักเขียนซึ่งเป็นแฟน แมนฯ ยูไนเต็ด ก็เห็นด้วย และเสริมว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นน่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสงครามดอกกุหลาบที่เพิ่งจะเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1977 มากนัก

“(ความเกลียดชัง) มันเริ่มมาจากไหนน่ะหรือ ? แค่การอยู่ในยอร์กเชียร์ ? หรือน้ำรสชาติต่างกัน ? ผมไม่รู้เลย” โอนีล

“หรือจะเป็นสงครามดอกกุหลาบ ? เราต้องย้อนไปไกลขนาดนั้นเลยหรือ ? ผมยังไม่เจอใครที่มาจากยุคนั้นเลยนะ ดังนั้นผมจึงไม่รู้ บางทีอาจจะเป็นยุคของ ดอน เรวี ที่พวกเขาถูกเรียกว่า ‘ลีดส์สกปรก'”

บวกกับความรู้สึกถูกเลือกปฏิบัติของชาวเมืองลีดส์ ที่มองว่ารัฐบาลกลางลำเอียง ใส่ใจเมืองแมนเชสเตอร์มากกว่า ยิ่งทำให้แฟนบอลของทั้งสองทีมมองหน้ากันไม่ติด

“ผมไม่คิดว่ามันคือการอิจฉา ก่อนเหตุการณ์ระเบิดที่ (การวางระเบิดของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน IRA ในปี 1996) แมนเชสเตอร์ก็เลวร้ายพอ ๆ กับลีดส์ การลงทุนเพิ่งจะมาหลังจากเหตุการณ์นั้น และมันก็สร้างความแตกต่างอย่างมากนับตั้งแต่นั้น” แอนดี ปีเตอร์เซน แฟนลีดส์

“บางทีพวกเรารู้สึกว่าสำหรับคนเมืองแมนเชสเตอร์ พวกเขาไม่ได้เคารพเราอย่างที่ควรจะเป็น พวกเขามีทั้ง BBC ที่นั่น มีทั้ง (หนังสือพิมพ์แห่งชาติ)”

แต่สิ่งสำคัญที่สุดพฤติกรรมของแฟนบอลกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มฮูลิแกนที่ชอบสร้างความรุนแรงในช่วงยุค 1970s ก็เป็นตัวเร่งให้อุณหภูมิในการเจอกันของทั้งสองทีมนั้นดุเดือดเลือดพล่านขึ้นไปอีก

ไล่ตั้งแต่ เอฟเอ คัพ รอบรองชนะเลิศปี 1965 ที่ แจ็ค ชาร์ลตัน ของลีดส์ และ เดนนิส ลอว์ ของแมนฯ ยูไนเต็ด ผลัดกันแลกหมัด ที่กล่าวว่า “ทั้งสองฝั่งเหมือนฝูงสุนัขกัดกันเพื่อแย่งกระดูก” หรือในเกมเอฟเอ คัพ รอบรองชนะเลิศ 1970 ที่ต้องเตะนัดรีเพลย์ถึง 2 ครั้ง

“มันมีการต่อสู้กันในทุกที่” ดร. ปีเตอร์ มอว์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์

ความขัดแย้งของพวกเขายิ่งทวีความรุนแรงขึ้นหลังปี 1977 เมื่อลีดส์ ขาย กอร์ดอน แม็คควีน ให้ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่ทำให้เขาถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ทรยศ และได้รับการต้อนรับด้วยเพลง ตอนมาเยือนเอลแลนด์ โรด ก่อนจะถึงขีดสุด เมื่อลีดส์ ต้องเสีย เอริค คันโตนา ให้ แมนฯ ยูไนเต็ด ในปี 1992

และพวกเขาก็กลายเป็นคู่กัดที่ไม่มีใครยอมลดราวาศอกกันหลังจากนั้น

ศึกแห่งศักดิ์ศรี

ด้วยอิทธิพลข้างต้นจึงทำให้ ลีดส์ ยูไนเต็ด และ แมนฯ ยูไนเต็ด กลายเป็นคู่แค้นที่ใส่กันอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหนก็ตาม เช่นกันสำหรับแฟนบอล พวกเขาก็ไม่เคยยอมกันและพร้อมจะห้ำหั่นกันเสมอทุกครั้งที่มีโอกาส

ยกตัวอย่างเช่นในเกม เอฟเอ ยูธ คัพ นัดชิงชนะเลิศระหว่างทีมเยาวชนของทั้งสองทีมเมื่อปี 1993 มีแฟนบอลเข้ามาชมเกมในเอลแลนด์ โรด ถึง 30,000 คน (สถิติสูงสุดจนปี 2007) หรือในเกม เอฟเอ คัพ รอบ 3 ปี 2010 ก็มีแฟนลีดส์ ตามเข้ามาชมเกมที่โอลด์ แทรฟฟอร์ด ถึง 9,000 คน

หรือในเกมลีกคัพ ในปี 2011 ที่แฟนบอลปีศาจแดงชูป้ายผ้าว่า “อิสตันบูล เรดส์” ล้อเลียนเหตุการณ์ที่แฟนลีดส์โดนแทงเสียชีวิต เมื่อปี 2000 ขณะที่ฝั่งลีดส์ก็ไม่แพ้กัน ด้วยการร้องเพลงแซวโศกนาฏกรรมที่มิวนิคในปี 1958

“เกมระหว่าง ลิเวอร์พูล และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด นั้นดุเดือดเสมอ” เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เคยกล่าวเอาไว้

“แต่ก็ไม่เท่าเกมระหว่าง ลีดส์ และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด”

มันจึงเป็นมากกว่าการแข่งขัน ที่บางครั้งก็อาจจะช่วยจุดไฟให้เกมนั้นสนุกยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟนบอลรวมไปถึงนักเตะของทั้งสองทีมไม่ได้ผลักไสและมองว่าเป็นหนึ่งในเสน่ห์ของเกมฟุตบอล

“ตั้งแต่เกิดจนตายแฟนลีดส์ถูกปลูกฝังให้เกลียดแมนฯ ยูไนเต็ด” โอนีล กล่าว

“ผมไม่ได้พูดว่ามันผิด ผมแค่บอกว่าฟุตบอลในเอลแลนด์ โรด มันเป็นอย่างไร เวลาที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ไปที่นั่น มันเป็นประสบการณ์ที่คุณหาไม่ได้จากสนามอื่น มันดึงทุกอารมณ์ออกมาจากตัวคุณ”

“มีหลายเกมที่ผมจำผลการแข่งขันไม่ได้ว่าชนะหรือแพ้ หรืออะไรทำนองนั้น เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวันนั้นจะกลืนกินคุณไปจนหมดสิ้น”

UFABETWIN

By admins